วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของไม้ดัดไม้แคระ

ประโยชน์ของไม้ดัดไม้แคระ
ไม้ดัดไม้แคระมีประโยชน์ ดังนี้
1. สามารถทำเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม การปลูกไม้ดัดไม้แคระ สามารถทำ
เป็นอาชีพของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตปีละจำนวนมาก ๆ
2. ทำให้สภาพแวดล้อมเกิดความร่มรื่นสวยงาม การปลูกไม้ดัดไม้แคระ ช่วยสร้าง
ความร่มรื่นสวยงามให้แก่สถานที่ต่าง ๆ ให้น่าอยู่น่าอาศัย สร้างความเพลอดเพลิน
3. เป็นแหล่งวัตถุดิบทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่าง ๆ
4. ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เมื่อมีการรวมตัวกันผลิตไม้ดัดไม้แคระ
จำนวนมาก ทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและส่วนรวมอีกทางหนึ่งด้วย
5. ไม้ดัดไม้แคระสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ สร้างรายได้เป็น
มูลค่านับพันล้านบาทต่อปี เช่น การส่งออกกล้วยไม้ทั้งต้นและดอกไปขายยังต่างประเทศ เป็นต้น
6. ใช้เป็นแหล่งทดลองทางวิทยาศาสตร์การเกษตร ทำให้เกิดความเจริญด้าน
เทคโนโลยีการเกษตรมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

ความหมายของไม้ดัดไม้แคระ

มรดกทางศิลปที่เก่าแก่อย่างหนึ่งของไทย ที่ปัจจุบันหาดูได้ค่อนข้างยาก และหาผู้สืบทอดได้ยากอีกด้วยก็คือ การเลี้ยงไม้ดัดแบบไทย ซึ่งเป็นงานอดิเรกของคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ดังที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งผู้เขียนได้เคยยกมากล่าวไว้ในบทที่ 1 แล้ว ประมาณกันว่า"ขุนแผน" ตัวเอกในเรื่องนี้ มีตัวตนจริงๆ อยู่ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปีพุทธศักราช 2034 ถึง 2072หรือจุลศักราช 840 ถึง 891 ซึ่งก็หมายความว่าคนไทยเล่นไม้ดัดเป็นงานอดิเรกกันมานานกว่า 500 ปีแล้ว

วิธีการคัดเลือกและเตรียมพันธุ์ไม้ดัดไม้แคระ

การคัดเลือกและเตรียมพันธุ์ไม้ดัด
ลักษณะรูปทรงของไม้หุ่น
ต้นไม้ที่นำมาทำเป็นไม้ดัดเราจะเรียกว่า "ไม้หุ่น" ลักษณะการได้มาของไม้หุ่นจะมาจาก 2 แหล่ง คือ
1. ได้จากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะออกไปหาขุดเองหรือหาซื้อจากผู้ที่ขุดมาขาย
2. ปลูกเลี้ยงขึ้นมาเอง
3. ไม่ว่าจะหาไม้มาได้ในลักษณะใดก็ตาม การดัดตกแต่งจะยุ่งยากหรือจะต้องใช้เวลามากน้อย แค่ไหน ก็จะขึ้นอยู่กับรูปทรงของไม้หุ่นเป็นสำคัญโดยทั่ว ๆ ไป นักเล่นไม้ดัดจำแนกรูปทรงไม้หุ่นไว้
4. แบบ ด้วยกัน คือ
1. ไม้บรรจบป่า
2. ไม้บรรจบหุ่น
3. ไม้วิชา
ไม้บรรจบป่า จะเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ รูปทรงกิ่งก้านคดเคี้ยวไปมา เนื่องจากถูกสัตว์เหยียบย่ำหรือเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใต้พุ่มไม้ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ทรงพุ่ม แลดูแคระแกร็นลักษณะทรงต้นดี เข้าที่เกือบใช้ได้แล้วอาจขาดเพียง 2-3 กิ่งเท่านั้นไม้ลักษณะนี้จึงเหมาะสมต่อการนำมาดัดให้ได้รูปทรง เพียงเพิ่มกิ่ง เพิ่มช่อใบ เว้นช่องไฟของช่อใบให้รับหุ่นหรือทรงต้น ก็จะทำให้เป็นไม้ดัดที่ดูงานได้ โดยใช้เวลาอีกไม่มากนัก การเลือกไม้ลักษณะนี้มาทำเป็นไม้ดัด อาจใช้เวลาเพียง 2-3 ปี ก็เสร็จสมบูรณ์
ไม้บรรจบหุ่น เป็นไม้ที่มีลักษณะรูปทรงหุ่นใกล้เคียงกับรูปแบบไม้ดัดที่จะทำ เพียงนำมาทำการดัดแต่งอีกเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เริ่มทำกิ่งช่อต่อไปได้ไม้บรรจบหุ่นนี้เหมาะสำหรับนำมาดัดแต่งทำเป็นไม้ดัดลักษณะไม้ตลกไม้ขบวนไม้เอนชายและไม้ญี่ปุ่นเท่านั้น
การเลือกไม้ลักษณะนี้มาทำเป็นไม้ดัด จะต้องใช้เวลานานอาจจะถึง 9 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์
ไม้วิชา เป็นไม้ที่มีลักษณะทรงต้นเพียงท่อนเดียว จะนำมาทำเป็นรูปร่างอย่างไรไม่ได้เลย เป็นไม้หุ่นที่นำมาทำไม้ดัดยากที่สุด จะต้องนำมาเลี้ยงให้ต้นแตกกิ่งกระโดงใหม่แล้วจึงจะทำการปิดกระหม่อมหุ่น (การปิดกระหม่อม หมายถึง การที่ดัดกิ่งที่แตกใหม่มาทับรอยตัดของต้นต่อเดิม) เมื่อกิ่งกระโดงได้ขนาดและเชื่อมกับต้นตอได้ดีแล้ว ก็จะใช้กิ่งกระโดงนั้นเป็นหุ่นทำกิ่งช่อต่อไป ผู้ดัดจะต้องใช้ฝีมือ และมีความวิริยะอุตสาหะเป็นเลิศ จึงจะทำได้สำเร็จ การใช้ไม้ชนิดนี้มาทำไม้หุ่นต้องใช้เวลามากกว่าจะได้ไม้ดัดที่เสร็จสมบูรณ์อาจจะถึง 15-18 ปีก็ได้ ไม้วิชานี้ถือว่าเป็นไม้ที่ใช้ทดสอบฝีมือผู้ดัดได้เป็นอย่างดี
การเตรียมพันธุ์ไม้ดัด
ในอดีตที่ผ่านมา ผู้ที่จะเลี้ยงไม้ดัดจะต้องไปเสาะหาไม้หุ่นจากป่าธรรมชาติซึ่งมีอยู่มากมาย การขุดก็ต้องค่อย ๆ ขุดล้อมโคนต้นให้มีดินติดมา ตัดกิ่งและรากที่ยาวเกินไปออก ใช้กระสอบหรือ วัตถุอื่นปิดคลุมส่วนดินและรากเอาไว้ ในขณะที่เคลื่อนย้าย จะต้องระมัดระวังอย่าให้กระเทือนมาก
นำมาปลูกและใช้หลักปักยึดไว้ให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นเอียงหรือล้มจะต้องปลูกทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง รอจนต้นไม้ฟื้นตัว และแตกกิ่งก้านใหม่จึงจะค่อยเริ่มลงมือดัดตกแต่งตามต้องการ
ในปัจจุบันมีผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดัดกันมากขึ้น จึงเกิดมีอาชีพขุดต้นตอขาย ผู้ที่อยู่ใกล้แหล่งธรรมชาติที่มีต้นตอขึ้นอยู่แล้วมากมาย จะเลือกขุดและนำมาพักเลี้ยงให้ฟื้นตัวดี เมื่อเริ่มแตกกิ่งก้านใหม่ จึงนำออกมาขายให้กับผู้ที่ต้องการปลูกเลี้ยงต่อไป
ในอนาคต คงจะต้องใช้วิธีปลูกเลี้ยงพันธุ์ไม้ขึ้นมาเอง เพราะพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินับวันก็จะหายากและขาดแคลนมากขึ้นเรื่อย ๆ

แหล่งที่พบ

แหล่งที่พบ ตัวอย่างไม้ดัดไทยที่สมบูรณ์ และสวยงามเข้าหลักเกณฑ์ตามตำราไม้ดัดไทย หาชมได้ที่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดจักรวรรดิ์หรือวัดสามปลื้ม สวนหน้ากระทรวงกลาโหม สวนที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
ความสัมพันธ์กับชุมชน ไม้ดัดเป็นศิลปะประจำชนชาติไทยมาแต่โบราณกาล ซึ่งเริ่มมีการเล่นกันมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ มาจนถึงรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ในสมัยนั้นยังไม่แพร่หลาย ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การเล่นไม้ดัดเป็นที่นิยมกันมากทั้งพระสงฆ์ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนพระเจ้าแผ่นดินซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ ให้ปลูกไม้ดัดไว้ในพระบรมมหาราชวังซึ่งเห็นอยู่รอบสนามหญ้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ต่อมาก็มีหลักฐานปรากฏในภาพเขียนวรรณคดีไทย เช่น กลอนเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างดังนี้ "กระถางแถวแก้วเกดพิกุลแกม ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว สมอรัดดัดทรงสมละไม ตะขบข่อยตั้งไว้จังหวะกัน"
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันการเล่นไม้ดัดมิใช่เพื่อศิลปะจรรโลงใจ แต่เน้นทางด้านธุรกิจ เนื่องจากไม้ดัดกลายเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมและมีราคาสูง จึงมีผู้เล่นไม้ดัด ทำการดัดไม้พอสวย ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ก็นำออกขาย ราคาของไม้ดัดที่สวยงามและสมบูรณ์ ก็มีราคาถึงหลายหมื่นบาท ซึ่งบรรดาเศรษฐีและชาวต่างชาติซื้อไปปลูกประดับไว้ในบ้านหรือในสวนของตน

ลักษณะชนิดพันธุ์ของไม้ดัดไม้แคระ

ลักษณะ ไม้ดัดเป็นศิลปะประจำชาติไทย เป็นศิลปะการเล่นพันธุ์ไม้ของคนไทยโบราณตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา การเล่นไม้ดัดแสดงให้เห็นถึงความอุตสาหะพากเพียรพยายามทรงไว้ซึ่งฝีมือและแนวความคิดในงานศิลปะของคนไทย เพราะไม้ดัดจะมีรูปร่างลักษณะถูกต้องตามแบบฉบับการดัดจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานไม่น้อยกว่า ๕ หรือ ๑๐ ปี ไม้ดัดไทยที่มีลักษณะงดงามจึงมีอายุถึง ๒๐, ๕๐ ปี บางต้นมีอายุถึง ๑๐๐ ปีก็มี จึงทำให้ไม้ดัดมีค่าสูงเหมือนโบราณวัตถุที่มีค่าสูงชิ้นหนึ่ง ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยและโปรดปรานเล่นไม้ดัด ดังปรากฏในพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังดุสิต นอกจากนี้ยังมีเจ้านายอีกหลายพระองค์ ทรงเล่นไม้ดัด เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศ เป็นต้น ส่วนบรรดาพระสงฆ์ไทย ก็มีพระครูประสิทธิ์สมณการวัดจักรวรรดิ์ พระมหาผิว (ศุขะพิศิษฐ์) วัดเทพศิรินทร์ เป็นต้น ถึงแม้ว่าบรรดาท่านเหล่านั้นจะสิ้นชีพแล้วก็ตาม แต่แบบฉบับและผลงานของท่านยังคงอยู่ จนกระทั่งปัจจุบัน และยังเป็นการแสดงความเคารพกตัญญูบรรดาท่านเหล่านั้นที่ทำใหศิลปะไม้ดัดยังตกทอดถึงปัจจุบันนี้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คุณหลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์) ได้เขียนโคลงตำราไม้ดัดไว้และพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชสัมภารากร (ชม ไกรฤกษ์) นับว่าเป็นตำราไม้ดัดเล่มแรกและกลายเป็นแม่แบบตำราไม้ดัดมาจนถึงปัจจุบัน