วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิธีการขุดล้อมต้นไม้ 3 วิธีคือ

วิธีที่หนึ่ง การขุดล้อมเตือน ใช้กับต้นไม้ที่ขุดล้อมยากต้องอาศัยเวลาเป็นปี โดยขุดดินรอบโคนต้น แล้วค่อยตัดราออกทีละด้าน และตั้งแต่เริ่มขุดครั้งแรกที่ต้องตัดแต่งกิ่ง และค้ำยันไว้ให้เรียบร้อย ตัวอย่างต้นไม้ที่ต้องใช้วิธีนี้ ได้แก่ต้นที่มีอายุมาก เปลือกบาง เจริญเติบโตช้า เช่น ตะโกนา มะเขือ จันทร์
วิธีที่สอง การขุดล้อมเพื่อให้ใบร่วง เป็นการลดการคายน้ำ ใช้กับต้นไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลาง เช่น ตะแบก เสลา ปีบนนที หางนกยูง โดยจะขุดรอบโคนต้นแล้วใช้วัสดูห่อหุ้มต้นดินไว้ให้แน่นหลักจากนั้น 15-30 วัน จึงตัดรากทั้งหมดแล้วจึงเคลื่อนย้าย
วิธีที่สาม การขุดล้อมแล้วเคลื่อนย้ายในขั้นตอนเดียว นิยมใช้กับต้นไม้มียาง เปลือกหนา มีโอกาสตายน้อยมาก เช่น ไห ไทร กร่าง ยางอินเดีย ลั่นทม ไผ่

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของไม้ดัดไม้แคระ

ประโยชน์ของไม้ดัดไม้แคระ
ไม้ดัดไม้แคระมีประโยชน์ ดังนี้
1. สามารถทำเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม การปลูกไม้ดัดไม้แคระ สามารถทำ
เป็นอาชีพของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตปีละจำนวนมาก ๆ
2. ทำให้สภาพแวดล้อมเกิดความร่มรื่นสวยงาม การปลูกไม้ดัดไม้แคระ ช่วยสร้าง
ความร่มรื่นสวยงามให้แก่สถานที่ต่าง ๆ ให้น่าอยู่น่าอาศัย สร้างความเพลอดเพลิน
3. เป็นแหล่งวัตถุดิบทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่าง ๆ
4. ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เมื่อมีการรวมตัวกันผลิตไม้ดัดไม้แคระ
จำนวนมาก ทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและส่วนรวมอีกทางหนึ่งด้วย
5. ไม้ดัดไม้แคระสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ สร้างรายได้เป็น
มูลค่านับพันล้านบาทต่อปี เช่น การส่งออกกล้วยไม้ทั้งต้นและดอกไปขายยังต่างประเทศ เป็นต้น
6. ใช้เป็นแหล่งทดลองทางวิทยาศาสตร์การเกษตร ทำให้เกิดความเจริญด้าน
เทคโนโลยีการเกษตรมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

ความหมายของไม้ดัดไม้แคระ

มรดกทางศิลปที่เก่าแก่อย่างหนึ่งของไทย ที่ปัจจุบันหาดูได้ค่อนข้างยาก และหาผู้สืบทอดได้ยากอีกด้วยก็คือ การเลี้ยงไม้ดัดแบบไทย ซึ่งเป็นงานอดิเรกของคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ดังที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งผู้เขียนได้เคยยกมากล่าวไว้ในบทที่ 1 แล้ว ประมาณกันว่า"ขุนแผน" ตัวเอกในเรื่องนี้ มีตัวตนจริงๆ อยู่ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปีพุทธศักราช 2034 ถึง 2072หรือจุลศักราช 840 ถึง 891 ซึ่งก็หมายความว่าคนไทยเล่นไม้ดัดเป็นงานอดิเรกกันมานานกว่า 500 ปีแล้ว

วิธีการคัดเลือกและเตรียมพันธุ์ไม้ดัดไม้แคระ

การคัดเลือกและเตรียมพันธุ์ไม้ดัด
ลักษณะรูปทรงของไม้หุ่น
ต้นไม้ที่นำมาทำเป็นไม้ดัดเราจะเรียกว่า "ไม้หุ่น" ลักษณะการได้มาของไม้หุ่นจะมาจาก 2 แหล่ง คือ
1. ได้จากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะออกไปหาขุดเองหรือหาซื้อจากผู้ที่ขุดมาขาย
2. ปลูกเลี้ยงขึ้นมาเอง
3. ไม่ว่าจะหาไม้มาได้ในลักษณะใดก็ตาม การดัดตกแต่งจะยุ่งยากหรือจะต้องใช้เวลามากน้อย แค่ไหน ก็จะขึ้นอยู่กับรูปทรงของไม้หุ่นเป็นสำคัญโดยทั่ว ๆ ไป นักเล่นไม้ดัดจำแนกรูปทรงไม้หุ่นไว้
4. แบบ ด้วยกัน คือ
1. ไม้บรรจบป่า
2. ไม้บรรจบหุ่น
3. ไม้วิชา
ไม้บรรจบป่า จะเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ รูปทรงกิ่งก้านคดเคี้ยวไปมา เนื่องจากถูกสัตว์เหยียบย่ำหรือเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใต้พุ่มไม้ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ทรงพุ่ม แลดูแคระแกร็นลักษณะทรงต้นดี เข้าที่เกือบใช้ได้แล้วอาจขาดเพียง 2-3 กิ่งเท่านั้นไม้ลักษณะนี้จึงเหมาะสมต่อการนำมาดัดให้ได้รูปทรง เพียงเพิ่มกิ่ง เพิ่มช่อใบ เว้นช่องไฟของช่อใบให้รับหุ่นหรือทรงต้น ก็จะทำให้เป็นไม้ดัดที่ดูงานได้ โดยใช้เวลาอีกไม่มากนัก การเลือกไม้ลักษณะนี้มาทำเป็นไม้ดัด อาจใช้เวลาเพียง 2-3 ปี ก็เสร็จสมบูรณ์
ไม้บรรจบหุ่น เป็นไม้ที่มีลักษณะรูปทรงหุ่นใกล้เคียงกับรูปแบบไม้ดัดที่จะทำ เพียงนำมาทำการดัดแต่งอีกเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เริ่มทำกิ่งช่อต่อไปได้ไม้บรรจบหุ่นนี้เหมาะสำหรับนำมาดัดแต่งทำเป็นไม้ดัดลักษณะไม้ตลกไม้ขบวนไม้เอนชายและไม้ญี่ปุ่นเท่านั้น
การเลือกไม้ลักษณะนี้มาทำเป็นไม้ดัด จะต้องใช้เวลานานอาจจะถึง 9 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์
ไม้วิชา เป็นไม้ที่มีลักษณะทรงต้นเพียงท่อนเดียว จะนำมาทำเป็นรูปร่างอย่างไรไม่ได้เลย เป็นไม้หุ่นที่นำมาทำไม้ดัดยากที่สุด จะต้องนำมาเลี้ยงให้ต้นแตกกิ่งกระโดงใหม่แล้วจึงจะทำการปิดกระหม่อมหุ่น (การปิดกระหม่อม หมายถึง การที่ดัดกิ่งที่แตกใหม่มาทับรอยตัดของต้นต่อเดิม) เมื่อกิ่งกระโดงได้ขนาดและเชื่อมกับต้นตอได้ดีแล้ว ก็จะใช้กิ่งกระโดงนั้นเป็นหุ่นทำกิ่งช่อต่อไป ผู้ดัดจะต้องใช้ฝีมือ และมีความวิริยะอุตสาหะเป็นเลิศ จึงจะทำได้สำเร็จ การใช้ไม้ชนิดนี้มาทำไม้หุ่นต้องใช้เวลามากกว่าจะได้ไม้ดัดที่เสร็จสมบูรณ์อาจจะถึง 15-18 ปีก็ได้ ไม้วิชานี้ถือว่าเป็นไม้ที่ใช้ทดสอบฝีมือผู้ดัดได้เป็นอย่างดี
การเตรียมพันธุ์ไม้ดัด
ในอดีตที่ผ่านมา ผู้ที่จะเลี้ยงไม้ดัดจะต้องไปเสาะหาไม้หุ่นจากป่าธรรมชาติซึ่งมีอยู่มากมาย การขุดก็ต้องค่อย ๆ ขุดล้อมโคนต้นให้มีดินติดมา ตัดกิ่งและรากที่ยาวเกินไปออก ใช้กระสอบหรือ วัตถุอื่นปิดคลุมส่วนดินและรากเอาไว้ ในขณะที่เคลื่อนย้าย จะต้องระมัดระวังอย่าให้กระเทือนมาก
นำมาปลูกและใช้หลักปักยึดไว้ให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นเอียงหรือล้มจะต้องปลูกทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง รอจนต้นไม้ฟื้นตัว และแตกกิ่งก้านใหม่จึงจะค่อยเริ่มลงมือดัดตกแต่งตามต้องการ
ในปัจจุบันมีผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดัดกันมากขึ้น จึงเกิดมีอาชีพขุดต้นตอขาย ผู้ที่อยู่ใกล้แหล่งธรรมชาติที่มีต้นตอขึ้นอยู่แล้วมากมาย จะเลือกขุดและนำมาพักเลี้ยงให้ฟื้นตัวดี เมื่อเริ่มแตกกิ่งก้านใหม่ จึงนำออกมาขายให้กับผู้ที่ต้องการปลูกเลี้ยงต่อไป
ในอนาคต คงจะต้องใช้วิธีปลูกเลี้ยงพันธุ์ไม้ขึ้นมาเอง เพราะพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินับวันก็จะหายากและขาดแคลนมากขึ้นเรื่อย ๆ

แหล่งที่พบ

แหล่งที่พบ ตัวอย่างไม้ดัดไทยที่สมบูรณ์ และสวยงามเข้าหลักเกณฑ์ตามตำราไม้ดัดไทย หาชมได้ที่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดจักรวรรดิ์หรือวัดสามปลื้ม สวนหน้ากระทรวงกลาโหม สวนที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
ความสัมพันธ์กับชุมชน ไม้ดัดเป็นศิลปะประจำชนชาติไทยมาแต่โบราณกาล ซึ่งเริ่มมีการเล่นกันมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ มาจนถึงรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ในสมัยนั้นยังไม่แพร่หลาย ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การเล่นไม้ดัดเป็นที่นิยมกันมากทั้งพระสงฆ์ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนพระเจ้าแผ่นดินซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ ให้ปลูกไม้ดัดไว้ในพระบรมมหาราชวังซึ่งเห็นอยู่รอบสนามหญ้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ต่อมาก็มีหลักฐานปรากฏในภาพเขียนวรรณคดีไทย เช่น กลอนเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างดังนี้ "กระถางแถวแก้วเกดพิกุลแกม ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว สมอรัดดัดทรงสมละไม ตะขบข่อยตั้งไว้จังหวะกัน"
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันการเล่นไม้ดัดมิใช่เพื่อศิลปะจรรโลงใจ แต่เน้นทางด้านธุรกิจ เนื่องจากไม้ดัดกลายเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมและมีราคาสูง จึงมีผู้เล่นไม้ดัด ทำการดัดไม้พอสวย ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ก็นำออกขาย ราคาของไม้ดัดที่สวยงามและสมบูรณ์ ก็มีราคาถึงหลายหมื่นบาท ซึ่งบรรดาเศรษฐีและชาวต่างชาติซื้อไปปลูกประดับไว้ในบ้านหรือในสวนของตน

ลักษณะชนิดพันธุ์ของไม้ดัดไม้แคระ

ลักษณะ ไม้ดัดเป็นศิลปะประจำชาติไทย เป็นศิลปะการเล่นพันธุ์ไม้ของคนไทยโบราณตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา การเล่นไม้ดัดแสดงให้เห็นถึงความอุตสาหะพากเพียรพยายามทรงไว้ซึ่งฝีมือและแนวความคิดในงานศิลปะของคนไทย เพราะไม้ดัดจะมีรูปร่างลักษณะถูกต้องตามแบบฉบับการดัดจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานไม่น้อยกว่า ๕ หรือ ๑๐ ปี ไม้ดัดไทยที่มีลักษณะงดงามจึงมีอายุถึง ๒๐, ๕๐ ปี บางต้นมีอายุถึง ๑๐๐ ปีก็มี จึงทำให้ไม้ดัดมีค่าสูงเหมือนโบราณวัตถุที่มีค่าสูงชิ้นหนึ่ง ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยและโปรดปรานเล่นไม้ดัด ดังปรากฏในพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังดุสิต นอกจากนี้ยังมีเจ้านายอีกหลายพระองค์ ทรงเล่นไม้ดัด เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศ เป็นต้น ส่วนบรรดาพระสงฆ์ไทย ก็มีพระครูประสิทธิ์สมณการวัดจักรวรรดิ์ พระมหาผิว (ศุขะพิศิษฐ์) วัดเทพศิรินทร์ เป็นต้น ถึงแม้ว่าบรรดาท่านเหล่านั้นจะสิ้นชีพแล้วก็ตาม แต่แบบฉบับและผลงานของท่านยังคงอยู่ จนกระทั่งปัจจุบัน และยังเป็นการแสดงความเคารพกตัญญูบรรดาท่านเหล่านั้นที่ทำใหศิลปะไม้ดัดยังตกทอดถึงปัจจุบันนี้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คุณหลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์) ได้เขียนโคลงตำราไม้ดัดไว้และพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชสัมภารากร (ชม ไกรฤกษ์) นับว่าเป็นตำราไม้ดัดเล่มแรกและกลายเป็นแม่แบบตำราไม้ดัดมาจนถึงปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552


ในบรรดากระถางที่ว่ามานี้ กระถางที่เป็นดินเผา ดูจะเหมาะสมที่สุด ทั้งในแง่ของการใช้ปลูกเลี้ยง และในแง่ของรูปทรงและความสวยงาม ลักษณะของกระถางภายในจะมีลักษณะเป็นดินเผาที่มีความพรุน มีการระบายอากาศดี ทำให้รากไม้ไม่ร้อนและมีอากาศหายใจเพียงพอ ดูดซับความชื้นและระบายน้ำดี ทำให้ดินและเครื่องปลูกโปร่ง ไม่แฉะจนเกินไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับการเลี้ยงบอนไซในประเทศไทยนั้น ที่มาของบรรดาต้นตอของไม้แคระเหล่านี้ กล่าวได้ว่า เกือบทั้งหมดมาจากตอไม้ธรรมชาติที่ดั้นด้นไปขุดมาจากตามป่าตามเขา และเนื่องจากพื้นที่ซึ่งไม้เหล่านี้เติบโตอยู่นั้นส่วนใหญ่จะเป็นภูมิประเทศที่เป็นป่าเป็นเขา หรือป่าละเมาะ ท้องนา และพื้นที่รกร้าง ซึ่งมีสภาพไม่เหมาะสมกับการที่จะให้พืชเจริญเติบโตได้ดี เช่นดินมีสภาพเลว พื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรวดและหิน ดินลูกรัง หรือบนหลืบเขาที่มีลมพัดจัด พืชที่ขึ้นอยู่ตามพื้นที่ประเภทเหล่านี้ จึงไม่สามารถเจริญได้ดี สาระรูปของมันจึงดูพิกลพิการไปตามสภาวะของดินฟ้าอากาศที่แวดล้อมอยู่ เช่นปีไหนแล้งจัด ร้อนมาก การเจริญเติบโตของมันจะมีน้อย ส่วนที่เจริญออกมาในช่วงนั้นก็จะแคระแกรน แต่พอปีต่อไปมีฝนตกต้องตามฤดูกาล ไม้ต้นนั้นเจริญเติบโตได้ดี ส่วนไหนที่เจริญเติบโตดีก็จะดันเอาส่วนที่ไม่ยอมโตในปีก่อนๆ ให้บิดเบี้ยวโค้งงอไป ส่วนไม้ที่อยู่บนภูเขาหรือหน้าผา ถูกลมพัดแรงตลอดเวลา ก็ทำให้ทรงต้นของไม้นั้น เอนลู่ไปตามทิศทางของลม กิ่งก้านก็คดงอไปตามเรื่องตามราว แต่ความพิกลพิการของไม้เหล่านี้ กลายมาเป็ยความสวยงามที่นักเลี้ยงต่างก็ใฝ่หามาไว้เป็นสมบัติ (เริ่มแรกก็สำหรับชมคนเดียว แต่พอหมดสตางค์เข้า ไม้พวกนี้ก็กลายเป็นสมบัติผลัดกันชมไป ก็มีเหมือนกัน)

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ต้นข่อยดัด


ที่ฉันภาพรูปมาลงเพราะว่าฉันไปเจอมาจากข้างโรงเรียนเขาย้อยวิทยาฉันเห็นว่ามันมีลักษณะที่โดดเด่นและดูสวยงามมากฉันจึงวาดรูปนี้ขึ้นมาค่ะ

เรื่องของการเลือกหาต้นไม้มาทำบอนไซ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ คงจะพูดเฉพาะการเลือกต้นไม้ ที่เขาขุดมาเลี้ยงไว้พักหนึ่ง พอมีรูปมีทรงให้เห็นหน้าเห็นตากันแล้วเท่านั้น เพราะถ้าจะเลือก"ตอ"ที่เขาเพิ่งขุดแล้วเอามาวางขาย อย่างที่นักเลงบอนไซเรียกกันว่า "ไม้ตุ้ม" นั้น ก็เห็นจะต้องจูงมือกันไป ดูไปสาธยายไป อย่างที่บอกไว้ข้างต้น นั่นแหละ ถึงคงจะพอหาตอไม้มานั่งประคบประหงมกันได้ การเลือกไม้ตุ้มที่เพิ่งขุดมาใหม่ๆ นี้เป็นเรื่องเสี่ยงมาก สำหรับนักเล่นหน้าใหม่ เพราะไม่มีทางรู้เลยว่า ไม้ต้นนั้นจะอยู่หรือจะไป กว่าจะหาประสบการณ์ได้ ก็หมดไปหลายกะตางค์ เพราะตอหนึ่งๆ สนนราคาก็ไม่เบานัก

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลักษณะที่ดีของบอนไซ อารัมภบท


ก่อนที่จะคุยกันต่อไปในเรื่องต่างๆ ของไม้แคระหรือบอนไซ เรามาทำความรู้จักกับไม้ประเภทนี้กันจริงๆ จังๆ ให้มีความเข้าใจตรงกันเสียก่อนดีกว่า
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในส่วนของบทนำ คำว่าบอนไซเป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง "ต้นไม้แคระ" ซึ่งก็หมายถึงว่า เป็นต้นไม้ที่ปกติจะมีขนาดสูงใหญ่ท่วมหัว เช่นตะโก มะขามเทศ ข่อย และอื่นๆ เราเอามาเลี้ยงในกระถางเล็กๆ บังคับไม่ให้ต้นโต แต่มีการดัดกิ่ง ตกแต่งลำต้น และกิ่งก้านให้มองดูเหมือนกับ เอาต้นไม้ใหญ่ๆ มาย่อส่วนลง โดยยังคงลักษณะรูปทรงเดิมของไม้นั้นๆ อยู่ และมิหนำซ้ำพอถึงฤดูกาล ที่ไม้ชนิดนั้นต้นใหญ่ๆ ออกดอกออกผล ไม้แคระของเราก็ควรจะมีดอกมีผลกับเขาด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นก็คงพอเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า คำว่า"บอนไซ"เป็นคำรวม อันหมายถึงต้นไม้ทุกชนิด ที่เอามาทำให้เป็นไม้แคระ ไม่ใช่ชื่อของพันธุ์ไม้พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ ที่ต้องแจงสี่เบี้ยกันตรงนี้ก่อนก็เพราะ เคยมีประสบการณ์มากับตัวเอง ผู้เขียนชอบเดินดูบอนไซแถวตลาดนัดสวนจตุจักรเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ วันหนึ่งกำลังเดินดูอยู่ฝั่งตรงข้ามองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรหรือที่รู้จักกันว่า "อตก." ก็เห็นคุณผู้หญิงที่เดินผ่านมา ชี้ให้เพื่อนดูต้นมะขามเทศที่ทำเป็นไม้แคระไว้ ก็เหมือนกับต้นมะขามเทศ ในรูปทางข้ายมือนี่แหละ พร้อมกับบอกว่า "นั่นไง...ต้นบอนไซ !" เพื่อนของเธอ ก้มลงไปดูจนใกล้แล้วบอกว่า "......นี่มันต้นมะขามเทศน่ะ" แต่คุณเธอยังยืนยันเสียงแข็งว่า"....ไม่ใช่หรอก... ต้นบอนไซต่างหาก ...มะขามเทศต้นแค่นี้มีที่ไหน..." ......... ฮา.... !

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ไม้เอนชาย ลำต้นเอนออกไปทางด้านข้างจะโผล่ขึ้นตามหน้าผา ตามตลิ่ง โดยมีรากเกาะด้านข้าง

ไม้ญี่ปุ่น



ไม้ญี่ปุ่นเป็นไม้แคละทรงญี่ปุ่น กิ่งและช่อพุ่มจัดกิ่งใกระจายตามรูปทรงไม้ใหญ่ในธรรมชาติ

ไม้ตลก


ไม้ตลก เป็นไม้ให้พบเห็นแปลกตาตลก มี2ลักษณะคือ ไม้ตลกหัวและไม้ตลกราก

ไม้กำมะลอ



ไม้กำมะลอ ลักษณะทรงต้นตรงขึ้นไป ส่วนยอดจะดัดหมุนเวียนวกวนลงมาไม่ว่าลักษณะใดจึงจะสมชื่อกำมะลอ คือไม่ใช่ของจริง ฉะนั้นกิ่งยอดจะต้องทำให้หักลงมาข้างล่างแทนที่จะขึ้นฟ้าเหมือนทั่วไป ถ้ายิ่งพิสดารเท่าไหรได้ยิ่งดี ขอให้สวยเข้ารูปทรงแค่นั้นก็พอ

ไม้ป่าข้อม



ลักษณะทรงต้นจะตรงถึงยอด ตรงโคนจะมีรอยปุ่มรอยตัดแต่งกิ่ง ดัดให้วนเวียนรอบๆต้นขึ้นไป การทำกิ่งช่อพุ่มกำหนดให้ทำ 3 กิ่งๆละ 3 ช่อ รวมทั้งต้น 9 ช่อ และต้องดัดทำกิ่งให้สม่ำเสมอ

ไม้เขน


ไม้เขน ต่างจากไม้ดัดชขิดอื่นจะให้ความสำคัญที่ทรงต้น โดยต้นจะมีปุ่มที่โคนหรือกิ่งต่ำมี่ดัดลง ให้อยู่ตรงข้ามกับกิ่งที่ 2 และกิ่งยอด โดยเฉพาะกิ่งยอดต้องหักเอี้ยวลงมาข้างหลังก่อนแล้วจึงดึงวกกลับขึ้น สำหรับกิ่งที่ 2 ดัดให้ได้จังหวะ รับกับกิ่งยอด ไม้เขนนี้นิยมทำกิ่งยอดและช่อเป็นพุ่มสามช่อจึงจะดูสวยงาม

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ไม้หกเหียน ลักษณะทรงต้นมีการดัดต่างกิ่งช่อพุ่มของไม้หกเหีบนนี้ ตามตำรากำหนดให้ ทำกิ่งและช่อพุ่มจำนวน11ช่อไม้ดัดชนินนี้จึงอยู่ในประเภทที่ดัดยาก

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ไม้ฉาก ลักษณะทรงต้นจะตรงข฿นมาดัดหักเป็นรูปมุมฉากเช่นเดียวกับลำต้น ส่วนปลายกิ่งจะปล่อยให้เป็นพุ่มใบนิยมทำพุ่มใบ9ช่อ ไม้ดัดฉากนี้จะทำเป็นต้นเดี่ยวหรือต้นคู่ในลักษระรูปทรงแบนและฉากบังตาก็ได้
ไม้ฉากเป็นไม้ดัดที่ดัดมากที่สุด ผู้ที่จะดัดจะต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือ และความวิริยะและความอดทนสูง
มากจึงจะทำได้

ประวัฒิของข้าพเจ้า


ชื่อ ด.ญ.ณัฐวรรณ แย้มภู่ ชื่อเล่น นัด
อายุ 13 ปี ศึกษาที่โรงเรียนเขาย็อยวิทยา
อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76140
บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยท่าช้าง
อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76140

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไม้ขบวน


ไม้ขบวน หรือไม้กระบวน ลักษณะของทรงต้นจะตรง หรือคดเล็กน้อยก็ได้ การจัดแต่งกิ่งจะไม่กำหนดรูปทรง แน่นอนผู้ดัดพลิกแพลงอย่างใดก็ได้ แต่สิ่งสำคัญต้องดัดช่อพุ่มให้จังหวะชองไฟดูพอเหมาะพอดีและให้เรียบร้อยโดยทั่วไปนิยมทำกัน9ช่อจึงได้รับความนิยมอย่างมาก