วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลักษณะที่ดีของบอนไซ อารัมภบท


ก่อนที่จะคุยกันต่อไปในเรื่องต่างๆ ของไม้แคระหรือบอนไซ เรามาทำความรู้จักกับไม้ประเภทนี้กันจริงๆ จังๆ ให้มีความเข้าใจตรงกันเสียก่อนดีกว่า
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในส่วนของบทนำ คำว่าบอนไซเป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง "ต้นไม้แคระ" ซึ่งก็หมายถึงว่า เป็นต้นไม้ที่ปกติจะมีขนาดสูงใหญ่ท่วมหัว เช่นตะโก มะขามเทศ ข่อย และอื่นๆ เราเอามาเลี้ยงในกระถางเล็กๆ บังคับไม่ให้ต้นโต แต่มีการดัดกิ่ง ตกแต่งลำต้น และกิ่งก้านให้มองดูเหมือนกับ เอาต้นไม้ใหญ่ๆ มาย่อส่วนลง โดยยังคงลักษณะรูปทรงเดิมของไม้นั้นๆ อยู่ และมิหนำซ้ำพอถึงฤดูกาล ที่ไม้ชนิดนั้นต้นใหญ่ๆ ออกดอกออกผล ไม้แคระของเราก็ควรจะมีดอกมีผลกับเขาด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นก็คงพอเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า คำว่า"บอนไซ"เป็นคำรวม อันหมายถึงต้นไม้ทุกชนิด ที่เอามาทำให้เป็นไม้แคระ ไม่ใช่ชื่อของพันธุ์ไม้พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ ที่ต้องแจงสี่เบี้ยกันตรงนี้ก่อนก็เพราะ เคยมีประสบการณ์มากับตัวเอง ผู้เขียนชอบเดินดูบอนไซแถวตลาดนัดสวนจตุจักรเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ วันหนึ่งกำลังเดินดูอยู่ฝั่งตรงข้ามองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรหรือที่รู้จักกันว่า "อตก." ก็เห็นคุณผู้หญิงที่เดินผ่านมา ชี้ให้เพื่อนดูต้นมะขามเทศที่ทำเป็นไม้แคระไว้ ก็เหมือนกับต้นมะขามเทศ ในรูปทางข้ายมือนี่แหละ พร้อมกับบอกว่า "นั่นไง...ต้นบอนไซ !" เพื่อนของเธอ ก้มลงไปดูจนใกล้แล้วบอกว่า "......นี่มันต้นมะขามเทศน่ะ" แต่คุณเธอยังยืนยันเสียงแข็งว่า"....ไม่ใช่หรอก... ต้นบอนไซต่างหาก ...มะขามเทศต้นแค่นี้มีที่ไหน..." ......... ฮา.... !

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ไม้เอนชาย ลำต้นเอนออกไปทางด้านข้างจะโผล่ขึ้นตามหน้าผา ตามตลิ่ง โดยมีรากเกาะด้านข้าง

ไม้ญี่ปุ่น



ไม้ญี่ปุ่นเป็นไม้แคละทรงญี่ปุ่น กิ่งและช่อพุ่มจัดกิ่งใกระจายตามรูปทรงไม้ใหญ่ในธรรมชาติ

ไม้ตลก


ไม้ตลก เป็นไม้ให้พบเห็นแปลกตาตลก มี2ลักษณะคือ ไม้ตลกหัวและไม้ตลกราก

ไม้กำมะลอ



ไม้กำมะลอ ลักษณะทรงต้นตรงขึ้นไป ส่วนยอดจะดัดหมุนเวียนวกวนลงมาไม่ว่าลักษณะใดจึงจะสมชื่อกำมะลอ คือไม่ใช่ของจริง ฉะนั้นกิ่งยอดจะต้องทำให้หักลงมาข้างล่างแทนที่จะขึ้นฟ้าเหมือนทั่วไป ถ้ายิ่งพิสดารเท่าไหรได้ยิ่งดี ขอให้สวยเข้ารูปทรงแค่นั้นก็พอ

ไม้ป่าข้อม



ลักษณะทรงต้นจะตรงถึงยอด ตรงโคนจะมีรอยปุ่มรอยตัดแต่งกิ่ง ดัดให้วนเวียนรอบๆต้นขึ้นไป การทำกิ่งช่อพุ่มกำหนดให้ทำ 3 กิ่งๆละ 3 ช่อ รวมทั้งต้น 9 ช่อ และต้องดัดทำกิ่งให้สม่ำเสมอ

ไม้เขน


ไม้เขน ต่างจากไม้ดัดชขิดอื่นจะให้ความสำคัญที่ทรงต้น โดยต้นจะมีปุ่มที่โคนหรือกิ่งต่ำมี่ดัดลง ให้อยู่ตรงข้ามกับกิ่งที่ 2 และกิ่งยอด โดยเฉพาะกิ่งยอดต้องหักเอี้ยวลงมาข้างหลังก่อนแล้วจึงดึงวกกลับขึ้น สำหรับกิ่งที่ 2 ดัดให้ได้จังหวะ รับกับกิ่งยอด ไม้เขนนี้นิยมทำกิ่งยอดและช่อเป็นพุ่มสามช่อจึงจะดูสวยงาม

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ไม้หกเหียน ลักษณะทรงต้นมีการดัดต่างกิ่งช่อพุ่มของไม้หกเหีบนนี้ ตามตำรากำหนดให้ ทำกิ่งและช่อพุ่มจำนวน11ช่อไม้ดัดชนินนี้จึงอยู่ในประเภทที่ดัดยาก

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ไม้ฉาก ลักษณะทรงต้นจะตรงข฿นมาดัดหักเป็นรูปมุมฉากเช่นเดียวกับลำต้น ส่วนปลายกิ่งจะปล่อยให้เป็นพุ่มใบนิยมทำพุ่มใบ9ช่อ ไม้ดัดฉากนี้จะทำเป็นต้นเดี่ยวหรือต้นคู่ในลักษระรูปทรงแบนและฉากบังตาก็ได้
ไม้ฉากเป็นไม้ดัดที่ดัดมากที่สุด ผู้ที่จะดัดจะต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือ และความวิริยะและความอดทนสูง
มากจึงจะทำได้

ประวัฒิของข้าพเจ้า


ชื่อ ด.ญ.ณัฐวรรณ แย้มภู่ ชื่อเล่น นัด
อายุ 13 ปี ศึกษาที่โรงเรียนเขาย็อยวิทยา
อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76140
บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยท่าช้าง
อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76140

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไม้ขบวน


ไม้ขบวน หรือไม้กระบวน ลักษณะของทรงต้นจะตรง หรือคดเล็กน้อยก็ได้ การจัดแต่งกิ่งจะไม่กำหนดรูปทรง แน่นอนผู้ดัดพลิกแพลงอย่างใดก็ได้ แต่สิ่งสำคัญต้องดัดช่อพุ่มให้จังหวะชองไฟดูพอเหมาะพอดีและให้เรียบร้อยโดยทั่วไปนิยมทำกัน9ช่อจึงได้รับความนิยมอย่างมาก